เมนู

ได้ตรัสพระสูตรทั้งสิ้นนี้ที่จะพึงตรัสในบัดนี้แก่ภิกษุเหล่านั้น มีอาทิว่า
กตโม จ ภิกฺขเว ปฏิจฺจสมุปฺปาโท. บรรดาบทเหล่านั้น กตโม จ
ภิกฺขเว ปฏิจฺจสมุปฺปาโท
เป็นกเถตุกัมยตาปุจฉา คำถามเพื่อจะตรัส
ตอบเอง.
จริงอยู่

การถามมี 5

อย่าง คือ การถามส่องความที่ยังไม่เห็น
การถามเทียบเคียงที่เห็นแล้ว การถามตัดความสงสัย การถามเห็นตาม
(อนุมัติ ) การถามเพื่อจะตรัสตอบเสียเอง การถาม 5 อย่างเหล่านั้น มี
ความต่างกันดังต่อไปนี้ :-
การถามส่องความที่ยังไม่เห็นเป็นไฉน. ลักษณะแห่งคำถามตาม
ปกติ อันชนอื่นไม้รู้ ไม่เหิน ไม่ไตร่ตรอง ไม่พิจารณา ไม่แจ่มแจ้ง
ไม่ไขให้แจ้ง. บุคคลย่อมถามปัญหา เพื่อรู้เห็น ไตร่ตรอง พิจารณา
แจ่มแจ้ง ไขปัญหานั้นให้เห็นแจ้ง การถามนี้ ชื่อว่าการถามส่องความ
ที่ยังไม่เห็น.

การถามเทียบเคียงความที่เห็นแล้วเป็นไฉน. ลักษณะ (คำถาม )
ตามปกติ อันตนรู้เห็น ไตร่ตรอง พิจารณา แจ่มแเจ้ง ชัดเจนแล้ว
บุคคลนั้นย้อมถามปัญหาเพื่อเทียบเคียงกับบัณฑิตเหล่าอื่น. การถามนี้ ชื่อ
ว่าการถามเทียบเคียงความที่ตนเห็นแล้ว.

การถามตัดความสงสัยเป็นไฉน ตามปกติบุคคลผู้แล่นไปสู่ความ
สงสัย. ผู้แล่นไปสู่ความเคลือบแคลง เกิดความคิดแยกเป็น 2 แพร่งว่า
อย่างนี้ใช่หรือหนอ หรือมิใช่ หรือเป็นอย่างไร เขาจึงถามปัญหาเพื่อ
ตัดความสงสัย การถามอย่างนี้ ชื่อว่าการถามตัดความสงสัย.
การถามเห็นตาม (อนุมัติ ) เป็นไฉน. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ย่อมตรัสถามปัญหาเพื่อการเห็นตามของภิกษุว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอย่อม
สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ภิกษุกราบทูลว่า รูป
ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ก็รูปใดไม่เที่ยง รูปนั้น
เป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า. พวกภิกษุกราบทูลว่า เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ก็รูปใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีการแปรปรวน
เป็นธรรมดา ควรหรือเพื่อจะเห็นรูปนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่น
เป็นตัวตนของเรา. พวกภิกษุกราบทูลว่า การยึดถืออย่างนั้นไม่ควรพระ
เจ้าข้า. การถามอย่างนี้ ชื่อว่าการถามเห็นตาม.
การถามเพื่อจะตรัสตอบเสียเองเป็นไฉน พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อม
ตรัสถามปัญหา เพื่อใคร่จะตรัสตอบภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย สติ-
ปัฏฐาน 4 เหล่านี้แล สติปัฏฐาน 4 เป็นไฉน เป็นต้น การถามนี้
ชื่อว่าการถามเพื่อจะตรัสตอบเสียเอง.

บรรดาการถาม 5 อย่างเหล่านี้ สำหรับพระพุทธเจ้า ไม่มีการ
ถาม 3 อย่างข้างต้นเลย. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า อะไรที่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่งในกาล 3 อย่าง หรือพ้นจากกาล ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
ชื่อว่า ไม้ทรงเห็น ไม่สว่าง ไม่ได้ไตร่ตรอง ไม่พิจารณา ไม้เห็นแจ้ง
ไม้แจ้งชัดแล้ว ไม่มีแก่พระพุทธเจ้าเลย เพราะเหตุนั้น การถามเพื่อ
ส่องอรรถที่พระพุทธเจ้าเหล่านั้นยังไม่ทรงเห็นจึงไม่มี ก็สิ่งใดอันพระผู้-
มีพระภาคเจ้าทรงแทงตลอดแล้วด้วยพระญาณของพระองค์ กิจด้วยการ
เทียบเคียงสิ่งนั้น กับ สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร หรือพรหมอื่น
ของพระองค์ จึงไม่มี เพราะเหตุนั้น การถามเทียบเคียงความที่พระองค์

เห็นแล้ว จึงไม่มี. ก็เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นไม่ทรง
สงสัยว่าอย่างไร ทรงข้ามความสงสัยได้ ขจัดความสงสัยในธรรมทั้งปวง
ได้ ฉะนั้น การถามตัดความสงสัยของพระองค์ จึงไม่มี ส่วนการถาม
2 อย่างที่เหลือ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ยังมีอยู่ บัณฑิตพึงทราบว่า
ในคำถาม 2 อย่างนั้น การถามเพื่อใคร่จะตรัสตอบเสียเอง ดังต่อไปนี้ :-
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทางจำแนกปัจจยาการด้วยการถาม
นั้น จึงตรัสว่า อวิชฺชาปจฺจยา ภิกฺขเว สงฺขารา เป็นต้น. ก็ในคำว่า
อวิชฺชาปจฺจยา ภิกฺขเว สงฺขารา เป็นต้นนั้น พึงทราบวินิจฉัย ดังต่อไป
นี้ :- เปรียบเหมือนบุคคลเริ่มกล่าวว่า เราจักพูดถึงบิดา ย่อมพูดถึงบิดา
ก่อนว่า บิดาของติสสะ บิดาของโสณะ ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้า
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทรงเริ่มเพื่อตรัสปัจจัย เมื่อตรัสถึงธรรมมีอวิชชา
เป็นต้น ซึ่งเป็นปัจจัยแห่งธรรมมีสังขารเป็นต้น โดยนัยเป็นต้นว่า อวิชฺชา-
ปจฺจยา สงฺขารา
ดังนี้แล้ว จึงตรัสถึงธรรมที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น. แต่
ในที่สุดแห่งอาหารวรรค พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสธรรมแม้ 2 อย่าง
ว่า ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิจจสมุปบาท (การอาศัยกันและกัน
เกิดขึ้น) และปฏิจจสมุปปันนธรรม แก่เธอทั้งหลาย.
ก็บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา เป็นต้น
ดังต่อไปนี้. อวิชชานั้นด้วย เป็นปัจจัยด้วย ชื่อว่าอวิชชาเป็นปัจจัย.
เพราะเหตุนั้น พึงทราบเนื้อความโดยนัยนี้ว่า สังขารย่อมเกิดมีเพราะ
อวิชชาเป็นปัจจัย. ในคำว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา นี้ มีความย่อเท่านี้
แต่ว่าโดยพิสดาร อนุโลมปฏิจจสมุปปาทกถา ซึ่งเกิดพร้อมกันทุกอย่าง
ท่านกล่าวไว้แล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรค เพราะเหตุนั้น อนุโลมปฏิจจ-

สมุปปาทกถา นั้น ผู้ศึกษาพึงถือเอาโดยความที่กล่าวไว้ในคัมภีร์วิสุทธิ์-
มรรคนั้นแล.
ก็ในปฏิโลมกถา คำว่า อวิชฺชายเตฺวว ตัดเป็น อวิชฺชาย ตุ เอว.
บทว่า อเสสวิราคนิโรธา ได้แก่เพราะอวิชชาดับโดยไม่เหลือด้วยมรรค
กล่าวคือวิราคะ (การสำรอก). การที่สังขารดับโดยไม่เกิดขึ้น (อีก)
ชื่อสังขารนิโรธะ (สังขารดับ). ก็เพื่อแสดงว่า เพราะการดับสังขาร
และเพราะการดับขันธ์ 5 มีวิญญาณเป็นต้น ที่ดับไปแล้วอย่างนี้ นามรูป
ชื่อว่า เป็นของดับไปแล้วเหมือนกัน พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
สงฺขารนิโรธา วิญฺญาณนิโรโธ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
เป็นต้น แล้วตรัสว่า เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส นิโรโธ
โหติ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้. บรรดา
บทเหล่านั้น บทว่า เกวลสฺส แปลว่า ทั้งสิ้น คือล้วน ๆ อธิบายว่า
เว้นแล้วจากสัตว์. บทว่า ทุกฺขกฺขนฺธสฺส แปลว่า กองทุกข์. คำว่า
นิโรโธ โหติ คือการไม่เกิดขึ้น.
ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสวัฏกถา ( กถาว่าด้วยวัฏฏะ)
ด้วยบท 12 บท โดยอนุโลม ย้อมกลับบทนั้นแล้ว ตรัสวิวัฏกถา
(นิพพาน) ด้วยบท 12 บท ทรงยึดยอดพระเทศนาด้วยอรหัต.
ในเวลาจบเทศนา ภิกษุนักวิปัสสนาจำนวน 500 รูปเหล่านั้นเป็น
บุคคลชั้นอุคฆติตัญญู แทงตลอดสัจจะ ดำรงอยู่ในพระอรหัตผล เหมือน
ดอกปทุมที่ถึงความแก่กล้าพอต้องแสงอาทิตย์ก็บานแล้วฉะนั้น.
บทว่า อิทมโว จ ภควา ได้แก่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำ
นี้ คือพระสูตรทั้งสิ้น คือวัฏกถาและวิวัฏกถา. บทว่า อตฺตมนา เต

ภิกฺขู ความว่า ภิกษุจำนวน 500 รูปเหล่านั้นมีจิตยินดี เป็นพระ
ขีณาสพแล้ว. บทว่า ภควโต ภาสิตํ อภินนฺทุํ ความว่า (ภิกษุเหล่านั้น)
พากันชื่นชมพระดำรัสพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสด้วยพระสุรเสียงดังเสียง
พรหมไพเราะดุจเสียงนกการเวก ระรื่นโสตเสมือนกับอมฤดาภิเษกโสรจสรง
หทัยบัณฑิตชน อธิบายว่า อนุโมทนา รับพร้อมกันแล้ว. เพราะเหตุนั้น
พระโบราณาจารย์ จึงกล่าวว่า
สุภาสิตํ สุลปิตํ เอตํ สาธุติ ตาทิโน
อนุโมทมานา สิรสา สมฺปฏิจฺฉึสุ ภิกฺขโว.
ภิกษุทั้งหลายอนุโมทนาต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้คงที่ว่า พระดำรัสพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงภาษิตแล้ว
ตรัสไว้แล้ว ยังประโยชน์ให้สำเร็จ ดังนี้ รับพร้อม
กันแล้วด้วยเศียรเกล้า.

จบอรรถกถาปฏิจจสมุปบาทสูตรที่ 1

2. วิภังคสูตร



ว่าด้วยการจำแนกปฏิจจสมุปบาท



[4] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตจักแสดง จักจำแนกปฏิจจสมุปบาทแก่
พวกเธอ พวกเธอจงฟังปฏิจจสมุปบาทนั้น จงใส่ใจให้ดีเถิด เราตถาคต
จักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.